เปลี่ยนพลาสติกเป็นทรัพยากรการผลิต
Trash Lucky (co-founded by Nat Atichartakarn) motivates consumers to mail or drop off their segregated waste (including plastics, paper, Aluminum cans, glass, and scrap metals) to its collection sites by offering the "Lucky Draw" where sponsors such as Coca Cola offers prizes as high as 1million baht (about 30K USD).
It incentives members to provide segregated trash to Trash Lucky through a digital platform and the convenience of Recycle Box provided by Trash Lucky via returned mail. It sells the collected and sorted trash to recyclers. The profit of the sales plus sponsorship revenue provides prizes to its members.
จากข้อมูลของ UN (2017) พบว่า ขยะพลาสติกในทะเลทั่วโลกมีปริมาณเฉลี่ย 8 ล้านตันต่อปี พลาสติกเหล่านี้จะแตกตัวออกเป็นเศษเล็กเศษน้อย (ไมโครพลาสติก) ปนเปื้อนในระบบนิเวศและห่วงโซ่อาหารของมนุษย์ สำหรับประเทศไทย ขยะพลาสติกในทะเล คิดเป็น 3% จากปริมาณขยะพลาสติกทั้งหมดกว่า 1 ล้านตันต่อปี ซึ่งติดอันดับที่ 6 ของโลก ขยะพลาสติกที่ไม่ได้ถูกจัดการจะถูกนำไปฝังกลบหรือหลุดไปในธรรมชาติและทะเล กลายเป็นจุดเริ่มต้น ให้คุณณัฐภัค อติชาตการ ผู้ร่วมก่อตั้ง Trash Lucky เป็นหนึ่งในสตาร์ทอัพที่ทำเรื่องการแยกขยะให้กลายเป็นเรื่องสนุก โดยให้ประชาชนแยกขยะรีไซเคิล ออกจากขยะประเภทอื่น ๆ แล้วส่งให้ Trash Lucky จากนั้นทาง Trash Lucky จะนำขยะเหล่านี้ไป Recycle หรือ Upcycle
เนื่องจากคนไทยส่วนใหญ่ไม่สนใจการแยกขยะและนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ จึงทิ้งขยะไม่เป็นที่และไม่มีแรงจูงใจในการแยกขยะ ในขณะเดียวกัน คนไทยกว่า 20 ล้านคน ชื่นชอบการลุ้นโชคด้วยการซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาล คิดเป็นมูลค่า 2.5 แสนล้านบาทต่อปี นั่นจึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นของไอเดียธุรกิจแยกขยะลุ้นโชคกับ Trash Lucky ผู้เป็นตัวกลาง (Platform) รับขยะพลาสติก รวมถึงขยะประเภท ขวดแก้ว กระดาษและโลหะ จากผู้บริโภคต้นทางที่คัดแยก รวบรวมและจัดเก็บขยะแล้วนำมาแลกเป็นตั๋วสะสมแต้มชิงโชคและลุ้นรับรางวัล เช่น ทองคำ บัตรกำนัล รถยนต์ ฯลฯ
ปัจจุบันสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ ได้แก่ ผู้อยู่อาศัย ออฟิศ โรงเรียนและชุมชน รายได้ของธุรกิจ เกิดจากการขายขยะจากสมาชิกให้กับบริษัทหรือโรงงานรีไซเคิล ซึ่งแปรรูปขยะกลับไปเป็นวัสดุตั้งต้นเพื่อผลิตสินค้าใหม่ รายได้ดังกล่าวจะแปรเป็นรางวัลสำหรับสมาชิกต่อไป เป็นการ สร้างแรงจูงให้คนมีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหันมาแยกขยะมากยิ่งขึ้น ปรับทัศนคติที่มีต่อการคัดแยกขยะว่าเป็นเรื่องง่ายและสนุก ส่งเสริมระบบหมุนเวียนเพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
แหล่งข้อมูล:
Comments